คนวัยเกษียณ วัยห้าว -วัยหด และ -วัยเหี่ยว

คุณวรวรรณ ธาราภูมิ -ประธานกรรมการบริหาร บลจบัวหลวง ได้แบ่ง3 ช่วงของผู้สูงวัยเกษียณพร้อมกับตั้งชื่อให้กับแต่ละช่วงวัยเกษียณไว้ว่า “-วัยห้าว -วัยหด และ -วัยเหี่ยว”
เกษียณ,เกษียณอายุราชการ,ของที่ระลึกเกษียณอายุราชการ
“วัยห้าว”
สำหรัยคนในวัยเกษียณช่วงต้น อายุ 60-69 ปี ส่วนใหญ่แข็งแรง พลังงานเต็มเปี่ยม ทำอะไรๆ ได้เหมือนกับช่วงก่อนเกษียณ และหลายคนในวัยนี้ยังไม่รู้จักคำว่าเกษียณ สามารถทำงานได้ต่อเนื่อง ทำให้ยังมีรายได้และรู้สึกว่าตนเองยังมีค่าต่อสังคม
นอกจากนี้ ยังเป็นวัยที่ “ฮึกเหิม” อยากทำสิ่งใหม่ๆ ที่ใฝ่ฝันไว้ โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน ที่หลายคน “อยากเริ่มต้นอาชีพใหม่ นำเงินที่เก็บออมไว้ออกไปลงทุนทำธุรกิจ ทำไร่ ทำสวน
และเพราะความห้าว ผสมกับความฮึกเหิมนี้เอง ที่ทำให้หลายคนต้องสูญเงินที่เก็บออมจำนวนมาก เพราะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ โดยไม่ได้ศึกษาความเป็นไปได้ ไม่ได้ประเมินความสามารถ ความเหมาะสมกับกำลังวังชาของตน
เกษียณ,เกษียณอายุราชการ,ของที่ระลึกเกษียณอายุราชการ
“วัยหด”
วัยนี้ถือเป็น “วัยเกษียณจริง” อายุ 70-79 ปี เพราะ “ความสามารถในการใช้ชีวิตจะลดลง ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ลูกจ้างเกษียณ อาชีพอิสระ หรือเจ้าของกิจการ จะไม่มีความแตกต่างด้านการใช้ชีวิตในวัยหดสักเท่าไร”
ในขณะที่ความสามารถในการหารายได้ลดลงจนเกือบหมด แต่ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจะมีมากขึ้น เพราะโรคภัยจะแสดงอาการออกมาชัดเจนขึ้น จึงควรลดกิจกรรมต่างๆ ลง และให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพและสุขภาพจิตใจมากขึ้น
อย่ามั่นใจในศักยภาพของตัวเองจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิดปัญหาก่อนวัยอันควร
เกษียณ,เกษียณอายุราชการ,ของที่ระลึกเกษียณอายุราชการ
“วัยเหี่ยว”
ในวัย 80 ปีขึ้นไป เข้าสู่วัยชรา และวัยพักผ่อนอย่างแท้จริง โดยในช่วงที่ชราภาพมากๆ จำเป็น ต้องมีคนคอยดูแล เพราะปัญหาสุขภาพจะมีมากขึ้น ความจำแย่ลง ขณะที่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของสุขภาพ จึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมทางการเงินไว้สำหรับการใช้จ่ายด้านสุขภาพเป็นหลัก
เพราะฉะนั้นไม่ใช่แค่เห็นว่าอายุ 60  แล้วจะเหมารวมว่าเป็นผู้สูงอายุเหมือนๆ กันหมด คนไทยก็มีอายุยืนขึ้น โดยผู้ชายอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 75 ปี ขณะที่ผู้หญิงอายุเฉลี่ย 80 ปี
และจากสถิติประชากรของประเทศไทย พบว่าถ้ามีชีวิตรอดมาจนถึงอายุ 60 ปีได้แล้วล่ะก็ จะมีโอกาสมีชีวิตต่อไปจนถึงอายุ 81-83 ปี
เพราะฉะนั้น ถ้าวันนี้ท่านที่ประคับประคองชีวิตมาได้จนถึงวัยหลังเกษียณ ก็มองตัวเลขอายุ 80 ปีไว้เป็นเป้าหมายได้เลย จะได้เตรียมพร้อมรับมือกับชีวิตในวัย 70-80 ปีไว้ ไม่ประเมินอายุตัวเองต่ำเกินไป
เพราะปัญหาหนึ่งของผู้สูงอายุ คือ มักคิดว่าจะตายเร็วกว่าความเป็นจริง
เพราะหากไม่เตรียมพร้อม ใน “วัยห้าว” ที่ยังมีเรี่ยวแรงหารายได้ อาจจะยังไม่มีความทุกข์
แต่ถ้าเข้าสู่วัยหด หรือวัยเหี่ยว เราอาจจะเป็นคนหนึ่งที่มีทุกข์แบบเดียวกับผู้สูงอายุทั่วๆ ไป ที่เป็นกันในปัจจุบัน และในอดีตที่ผ่านมา
การสำรวจความคิดเห็นผู้สูงอายุ เมื่อปี 2559 โดย นิด้าโพล และศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์(นิด้า) พบว่ามีอยู่ 7 เรื่องใหญ่ๆ ที่ทำให้ผู้สูงอายุไทยเป็นทุกข์ นั่นคือ
1การไม่มีเงินใช้/ไม่มีเงินออม/มีเงิน แต่ไม่พอใช้
2อยากทำงาน แต่ไม่มีงานทำ ทำให้ขาดรายได้มาเลี้ยงตนเอง
3มีภาระหนี้สินที่ต้องจ่ายให้แก่เจ้าหนี้
4ไม่มีเพื่อนฝูง
5สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง/มีโรคประจำตัว/ต้องไปหาหมอ
6ไม่มีลูกหลาน อยู่คนเดียว หรือมีลูกหลานแต่เขาไม่สนใจดูแล
7จิตใจไม่เบิกบาน ไม่สดชื่นแจ่มใส หม่นหมอง ไม่มีคุณค่า
จะเห็นได้เลยว่า 3 เรื่องที่ใหญ่ที่สุด คือเรื่องเงิน  ไม่ว่าจะเป็นไม่มีเงิน ไม่มีงาน และมีหนี้สิน
(ขอบคุณ นสพ “โพสต์ทูเดย์” )
ไม่ว่าคุณกำลังอยู่ตรงวัยไหน”ห้าว””หด” หรือ “เหี่ยว” การเตรียมพร้อม และการทำ ความเข้าใจกับ”สภาพที่เราเ
ป็น” หรือ”กำลังจะเป็น” ไว้ น่าจะเป็นเรื่องที่ดีเสมอ
Scroll to Top