เกษียณ63ปี แก้ปัญหาง่ายไปไหม

ตั้งแต่ปี 2561 ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์โดย มีผู้สูงอายุสูงถึง 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมดและมากกว่าประชากรเด็ก มีผลทำให้รัฐบาลต้องรองรับให้ผู้สูงอายุมีงานทำไม่ป่วยเหงาเป็นโรคซืมเศร้า และมีสุขภาพดีอีกด้วย ต้องมีการเตรียมการเพื่อเพิ่มการจ้างงานผู้สูงวัย

วันที่ 6 เม.ย.ปี 2561 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แผนการปฏิรูปประเทศ 11 ในแผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม ให้มีการขยายอายุเกษียณราชการจาก 60 ปี เป็น 63 ปี โดยใช้เวลา 6 ปี เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายเวลาการทำงานและค่อยๆ ขยายเวลาเป็น 2 ปี ขยาย 1 ปี
ฟังดูเหมือนเป็นข่าวดีที่รัฐบาลจะมอบให้แก่ประชาชน แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่าเวลาที่ทำงานจนเกษียณอาจจะประมาณ30-40ปี ยิ่งเป็นข้าราชการที่จำต้องทำงานในระบบต้องทำงานซ้ำๆกันต้องอดทนกับความจำเจหลากหลาย
น่าจะเป็นช่วงเวลาให้ท่านเหล่านั้นได้พักผ่อนหรือมีทางเลือกที่ได้ทำตามความฝันของท่านผู้  เกษียณอายุราชการ เหล่านั้น
ขณะเดียวกันประชาชนที่ไม่ได้อยู่ในระบบข้าราชการจะทำอย่างไรกับประชาชนในกลุ่มนี้ จากนโยบายการยืดอายุเสมือนเป็นการสร้างความแตกต่างความไม่ทัดเทียม ซึ่งขัดกับหลักของรัฐศาสตร์
หวังอย่างยิ่งจะมีรัฐบาลในฝัน ผู้มีความสามารถแก้ปัญหาในการดูแลผู้สูงอายุอย่างมีความสุขแทนที่จะมีนโยบายให้ทำงานนานขึ้น หรือให้ตรากตรำกับชีวิตมากขึ้น สร้างความแตกต่างไม่ทัดเทียมให้มากขึ้น


เห็นการพัฒนาบ้านเมืองประเทศไทย ดูแลความสวยงามของธรรมชาติรักษามโนธรรมปลูกฝังความดีของประชาชน ให้เห็นคุณค่าของความสุขมากกว่าเงินตรา อดคิดไม่ได้ว่านโยบายขยายการทำงานของคนสูงวัยจะกลับกลายเป็นการสร้างทุกข์ให้แก่คนแก่ที่ควรพักหรือไม่

Scroll to Top